วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

Airport Planning

Airport Planning


ก่อนอื่น เราต้องทราบความหมายของ ”ท่าอากาศยาน”ก่อน ซึ่งได้มีนักวิชาการได้ให้ความหมาย
ไว้ดังนี้
ท่าอากาศยาน คือ สถานที่บนพื้นดินหรือบนพื้นน้ำ ที่ใช้เป็นที่ขึ้นและลงของเครื่องบิน เพื่อรับส่งผู้โดยสาร สัมภาระสินค้า ไปรษณียภัณฑ์ ฯลฯ และในท่าอากาศยานจะมีอาคารและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จะให้บริการแก่เครื่องบิน ผู้โดยสาร การขนส่งสัมภาระไปรษณียภัณฑ์ หรืออาจกล่าวได้อีกคำนิยามหนึ่งว่า
ท่าอากาศยาน คือ สถานที่ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างการขนส่งทางอากาศและภาคพื้นดิน
คนทั่วไปมักเรียก ท่าอากาศยาน ว่า สนามบิน ซึ่งคำทั้งสองคำนี้มีความหมายเหมือนกัน ต่างกันที่คำว่า "ท่าอากาศยาน" ได้มีการระบุใช้ในพระราชบัญญัติศุลกากร ฉบับที่ ๘ พ.ศ.๒๔๘๐ ส่วนคำว่า "สนามบิน" เป็นคำที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ สำหรับภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกท่าอากาศยาน โดยทั่วไปใช้คำว่า AIRPORT แต่ทางด้านวิชาการของการขนส่งทางอากาศ จะใช้คำว่า AERODROEM (http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK22/chapter9/t22-9-l1.htm ; online 4 March2009)
เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมในการเป็นชุมทางการบิน ประกอบกับมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม เป็นที่นิยมของคนทั่วโลก นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีนโยบายเศรษฐกิจเสรี ทำให้มี
ผู้มาลงทุนทำกิจการต่างๆ หลายด้าน ท่าอากาศยานจึงเป็นสถานที่ที่มีบทบาทสำคัญเพราะท่าอากาศยานจะทำหน้าที่เสมือนเป็นสะพานเชื่อมระหว่างประเทศ เพื่อการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีท่าอากาศยานซึ่งใช้สนับสนุนกิจการพาณิชย์อยู่ทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งท่าอากาศยานแต่ละแห่งจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคหรือในจังหวัดที่ท่าอากาศยานนั้นๆ ตั้งอยู่

ก่อนที่จะทำการสร้างท่าอากาศยานใหม่ขึ้นมา ต้องมีการวางแผนในการสร้างท่าอากาศยานเพื่อให้สามารถบริการผู้ใช้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นในอดีตหรือปัจจุบันมีปัจจัยหลักที่ต้องคำนึงถึงคือ
จะต้องมีอุปสงค์และอุปทาน กล่าวคือความต้องการของการขนส่งทางท่าอากาศไม่ว่าจะเป็นความต้องการทางด้านเศรษฐกิจหรือทางด้านสังคมและการเมือง ล้วนเป็นตัวกำหนดที่สำคัญในการสร้างท่าอากาศยาน และการจัดองค์ประกอบต่างๆ สำหรับท่าอากาศยานทุกแห่งนอกจากนั้นการสร้างท่าอากาศยานจะต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐบาลก่อน
ซี่งหลักนการที่จะสร้างท่าอากาศยานขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญในการวางแผนจัดสร้างท่าอากาศยานขึ้นมาใหม่อยู่ 3 ขั้นตอนคือ
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นการศึกษาความเหมาะสมในการจัดสร้างท่าอากาศยานใหม่
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการศึกษาความเป็นไปได้ของที่ตั้งท่าอากาศยานมาใหม่
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นวางแผนก่อสร้างท่าอากาศยานใหม่

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ปัจจุบันงานอาจารย์สุธี มี 5 อย่างแล้...


ปัจจุบันงานอาจารย์สุธี  มี 5 อย่างแล้ว



1.   1ทำคนละหัวข้อในบทที่ หนึ่ง  จำได้ไหม?  it at work ฯลฯ  



(ส่งเล่มรายงาน+ รายงานหน้าห้อง 15 กุมภา 52)



2.   2จับคู่ อภิปรายเรื่องตามหัวข้อที่ อ ให้  (ส่งเล่มรายงาน+ รายงานหน้าห้อง 22 กุมภา 52)



3.  3 งานแปล  บทใคร บทมัน  พร้อมออกข้อสอบ 2 ข้อ ท้ายบท  (ส่งแล่มรายงาน 22 กุมภา 52)



4.  4 e commerce ขายสินค้าอะไรก็ได้  ทำเป็นเว็บไซต์ย่อยๆ  (ไลด์ใส่แผ่นดิสส่งอาจารย์ ก่อนสอบ)



5.   5ตั้งแต่บทที่5-16 แบ่งกันทำ    (ส่งแล่มรายงาน 22 กุมภา 52)



      เนื้อเรื่องนำ 1 บท เช่น   ถ้าเลือกทำบทที่5   dell is using e commercr for success  พร้อมออกข้อสอบ 1 ข้อ



      แล้วก็ต้องเลือกทำ it at work บทอื่น เช่น ทำ it at work บทที่ 6 ตั้งแต่ 6.1-6.6  พร้อมออกข้อสอบ 1 ข้อ



                                            รวม ออกข้อสอบ 2 ข้อ



         ดังนั้น ทุกคนต้องออกข้อสอบ 4 ข้อ ซึ่งมาจากงาน ชุดที่3  และงานชุดที่5 อาจารย์บอกว่าห้ามออกซ้ำกันนะคะ



……………..ส่งด่วนวันที่ 22 กุมภาพันธ์  นี้  เพราะอาจารย์จะได้เลือกไปทำออกสอบปลายภาคจ้า




รายงานวิชา อ สุธี ชุดที่3



ให้สรุปในเนื้อหาแต่ละบทที่ตนเองได้เป็นภาษาไทย
ทำเป็นรายงาน
  และเลือกมาเป็นข้อสอบ 

ในท้ายบท Questions for discussion 2 ข้อ

ใส่ไว้ท้ายรายงาน (บอกเพื่อน ๆ ด้วยว่า เอาข้อไหนเป็นข้อสอบ
อิอิ
)



 



 



 



Chapter            ชื่อ



              
1
             
วิน รุ่น10



              
2              
หญิง  



              
3  
           
วิน



              
4
             
นุ่น รดา รุ่น10



              
5  
           
สุกัญญา รุ่น 10



              
6             
 แนน



 



    ความสนใจ



 จากบทการเรียนรู้ดังกล่าว ข้าพเจ้ามีความสนใจในคำถามต่อไปนี้



 บทที่ 6



 หน้า 251 ข้อ 3  Explain the role
of protocols in mobile computing?



 หน้า 251 ข้อ 6 How are GIS and GPS related?




            7           พี่กาน    เปลี่ยนมาจาก chapter 15  



              
8   
          
ตู่



              
9
             
 ---



             
10            
 บี



             
11
           พี่นัด รุ่น10



             12             
 ---



            
13
            พี่แอ๊ด



            
14              ---



            
15             
-----



            
16 
            พรรษ



 



 





รายงานวิชา อ
สุธี
ชุดที่5



ตั้งแต่บทที่5-16
แบ่งกันทำ    (ส่งแล่มรายงาน 22 กุมภา 52)



      เนื้อเรื่องนำ
1 บท เช่น  
ถ้าเลือกทำ   บทที่5   dell is using e commercr for success พร้อมออกข้อสอบ 1 ข้อ



      แล้วก็ต้องเลือกทำ it at work บทอื่น เช่น ทำ it at work บทที่ 6 ตั้งแต่ 6.1-6.6  พร้อมออกข้อสอบ 1 ข้อ



                                           
รวม ออกข้อสอบ 2
ข้อ

ขอบคุณน้องแนน มากครับ...พี่นัด


บทที่
บทนำ
IT AT Work
ข้อสอบ
5
พี่นัด
สุกัญญา

6



7



8



9



10



11
สุกัญญา
พี่นัด

12



13



14

แนน
บทที่14Questions for discussion ข้อ9 หน้า587
15
แนน

ทที่15 Questions for discussion ข้อ2หน้า616
16



17



18





(หมายเหตุ ให้สมาชิก MSAM 10-11 กรอกข้อมูลแก้ไข  และบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้ และสุดท้ายต้อง safe ด้วยครับ)










วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552

Bird strike_case_Ryan Air_2008


เครื่องบิน
ไรอันแอร์
ลงจอดฉุกเฉิน
เหตุนกชนทำเครื่องยนต์ขัดข้อง


11
พฤศจิกายน
2008















อิตาลี
11
..
-
เครื่องบินโดยสารของสายการบินไรอันแอร์ต้องลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินใน
กรุงโรม ประเทศอิตาลี
หลังเครื่องยนต์ได้รับความเสียหายเนื่องจากถูกนกพุ่งชน





โฆษกสาย
การบินไรอันแอร์
สายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติไอริช
เปิดเผยว่า
เครื่องบินโดยสารแบบโบอิ้ง
737
ซึ่งเดินทางจากท่าอากาศยานนครแฟรงก์เฟิร์ตในเยอรมนี
พร้อมผู้โดยสาร
166
คน
และลูกเรือ
10
คน
ต้องลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินซิอัมปิโนในกรุงโรม
ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง
ภายหลังเครื่องยนต์ได้รับความเสียหายหลายจุด
รวมถึงบริเวณล้อหน้า
เนื่องจากถูกนกพุ่งชนเข้าไปติดในเครื่องยนต์หลายครั้ง
ระหว่างนักบินพยายามนำเครื่องลงจอด
ส่งผลให้ผู้โดยสาร
3
คน
และลูกเรือ
2
คนได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย
ขณะที่เจ้าหน้าที่ต้องสั่งปิดสนามบินซิอัมปิโน
ส่วนความเสียหายของเครื่องบินอยู่ระหว่างการจรวจสอบของเจ้าหน้าที่สายการบิน
ไรอันแอร์และสนามบินซิอัมปิโน





ที่มา
:
สำนักข่าวไทย



วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

ตัวอย่างวัตถุระเบิดเหลว


ทำความรู้จัก"วัตถุระเบิดเหลว"
ที่ใช้ในแผนก่อการร้ายในอังกฤษ
เมื่อปี
2006




เมื่อวันที่
10 สิงหาคม
2549 มีเหตุการณ์น่าตกใจเกิดขึ้น
เมื่อมีการเปิดโปงแผนการก่อการร้ายระเบิดเครื่องบินกว่า
10 ลำ
ของ
4 สายการบิน
เส้นทางจากอังกฤษไปยังเมืองต่าง
ๆ ในสหรัฐอเมริกา
สารเคมีสำหรับทำระเบิดที่ผู้ก่อการร้ายวางแผนจะใช้ในครั้งนี้มีลักษณะเป็นของเหลว
ซึ่งยากต่อการตรวจจับด้วยสุนัขดมกลิ่นหรือเครื่องตรวจจับระเบิดแบบธรรมดา
โดยคาดว่าผู้ก่อการร้ายคงจะนำสารตั้งต้นของระเบิดนี้ซึ่งเป็นของเหลวไปผสมเพื่อทำระเบิดในห้องน้ำบนเครื่องบิน
เรามาดูกันดีกว่าว่าวัตถุระเบิดชนิดนี้คืออะไร
ทำงานได้อย่างไร
และมีมาตรการอะไรในการป้องกัน





วัตถุระเบิดชนิดนี้มีชื่อว่า
ทีเอทีพี
(TATP)
หรือไตรอะซีโตน
ไตรเพอร์ออกไซด์
(Triacetone
triperoxide)

เชื่อกันว่าเป็นระเบิดชนิดเดียวกับที่ใช้ระเบิดรถไฟใต้ดินที่กรุงลอนดอนเมื่อปีที่แล้ว
สาร
TATP
นี้มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว
เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์
(มีสูตรเคมีคือ
H-O-O-H พบได้ในน้ำยาล้างแผลฆ่าเชื้อโรค
หรือน้ำยาย้อมผม
)
กับอะซีโตน
(สูตรเคมีคือ
CH3-CO-CH3
พบได้ในน้ำยาล้างเล็บหรือเป็นส่วนประกอบของทินเนอร์ที่ใช้ผสมสี)
โดยมีกรด
เช่นกรดซัลฟิวริก
หรือกรดอะซีติก
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
เนื่องจากสารตั้งต้นในการผลิต
TATP หาซื้อได้ง่ายนี่เอง
ทำให้มีคนจำนวนไม่น้อยได้รับบาดเจ็บ
พิการ
หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการพยายามทำระเบิดเอง





ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม
ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ
TATP
มีโครงสร้างเป็นวงประกอบด้วยอะซีโตนเพอร์ออกไซด์จำนวน
3 โมเลกุล
หรือไซคลิกไตรเมอร์
(cyclic trimer) เป็นผลิตภัณฑ์หลัก
ซึ่งมีความเสถียรและปลอดภัยเพียงพอต่อการเก็บรักษา
แต่อย่างไรก็ตาม
เราก็ยังมีโอกาสพบผลิตภัณฑ์ที่มีโครงสร้างเป็นวงประกอบด้วยอะซีโตนเพอร์ออกไซด์จำนวน
2 โมเลกุล
หรือไซคลิกไดเมอร์
(cyclic dimer)
ซึ่งไซคลิกไดเมอร์นี้มีความเสถียรต่ำมาก
จนสามารถระเบิดได้เพียงแค่สัมผัส
ปฏิกิริยาเมื่อ
TATP เกิดออกซิเดชั่น
(oxidation) คือ





2C9H18O6 + 21O2 ------>
18H2O + 18CO2





การทำงานของระเบิดโดยทั่วไปในปัจจุบันจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับความร้อนสูงในการจุดระเบิด
องค์ประกอบทางเคมีของระเบิดจะถูกปล่อยอย่างฉับพลัน
และเกิดพลังงานความร้อนขึ้น
โดยพลังงานความร้อนที่เกิดนี้จะทำหน้าที่เร่งให้ส่วนประกอบทางเคมีเกิดการปล่อยพลังงานออกมาอีกทำให้แรงระเบิดขยายออกไป
ตัวอย่างของระเบิดประเภทนี้คือ
ทีเอ็นที
(TNT
หรือ
trinitro
toluene)
แต่
TATP
สามารถระเบิดได้เพียงแค่ได้รับความร้อนเล็กน้อย
การเสียดสี
แรงสั่นสะเทือน
การกระแทก
หรือกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่ในโทรศัพท์มือถือ
คอมพิวเตอร์
notebook เครื่องเล่น
MP3 ก็สามารถจุดระเบิด
TATP ได้
การระเบิดของ
TATP เกิดจากการแตกตัวของโมเลกุล
TATP ที่เป็นของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซ
เมื่อ
TATP
ระเบิดจะเกิดแรงดันมากกว่าอากาศที่อยู่รอบๆ
ถึง
200 เท่า
TATP
เพียงไม่กี่กรัมสามารถสลายตัวให้ก๊าซหลายพันลิตรภายในเสี้ยววินาที
โดยมีความร้อนเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่มีแรงดันเกิดขึ้นมหาศาล
ลักษณะการระเบิดแบบนี้คล้ายกับหลักการทำงานของการสลายตัวของสารแอซไซด์
(Azide) ที่ใช้ในถุงลมนิรภัยในรถยนต์








ดังนั้น
กระทรวงคมนาคมอังกฤษจึงออกคำแนะนำสำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางด้วยเครื่องบินจากสหราชอาณาจักร
หลังจากพบแผนก่อวินาศกรรมบนเครื่องโดยสารแต่ตำรวจสามารถล้มแผนได้ก่อน
แต่ยังคงต้องเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดและตรวจค้นผู้โดยสารอย่างละเอียดเพื่อความปลอดภัย





-มีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดตามสนามบินทุกแห่งของสหราชอาณาจักร


-มาตรการต่างๆ
มีผลบังคับใช้ทันทีกับผู้โดยสารที่เริ่มต้นเดินทางจากสนามบินในสหราชอาณาจักรและสำหรับผู้โดยสารที่แวะเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินในสหราชอาณาจักร


-กระเป๋าถือทุกใบจะต้องผ่านการตรวจสอบเหมือนกับกระเป๋าโหลด


-สัมภาระที่จะถือขึ้นเครื่องจะต้องใส่ไว้ถุงพลาสติคใสเท่านั้น
ยกเว้น
:


* กระเป๋าสตางค์
และกระเป๋าเงินขนาดเล็ก
ที่มีสิ่งของต่างๆ
อยู่ เช่น เงิน
บัตรเครดิต
บัตรประจำตัวประชาชน
ฯลฯ


* เอกสารเดินทาง
เช่น หนังสือเดินทาง
และตั๋วเครื่องบิน


* แว่นตาหรือแว่นกันแดด
แต่ห้ามมีกล่องใส่แว่น


* ตลับใส่คอนแทคเลนส์
แต่ห้ามมีขวดใส่น้ำยาคอนแทคเลนส์


*
สิ่งที่ต้องมีสำหรับทารก
เช่น อาหาร นม
(แต่ละขวดจะต้องผ่านการลองชิมโดยผู้ที่เดินทางไปด้วยกัน)
ชุดอุปกรณ์เพื่อสุขอนามัยสำหรับเด็กในจำนวนที่เพียงพอสำหรับการเดินทางเท่านั้น
(ผ้าอ้อม,
กระดาษชำระ,
ครีมสำหรับทารก
และถุงใส่ผ้าอ้อมใช้แล้ว
)


*
ชุดอุปกรณ์เพื่อสุขอนามัยสำหรับผู้หญิงในปริมาณที่พอใช้สำหรับการเดินทาง


* กระดาษชำระ
(ไม่ใส่กล่อง)
และ/หรือ
ผ้าเช็ดหน้า


* กุญแจ
(แต่ห้ามกุญแจรีโมท)


-ผู้โดยสารทุกคนจะต้องถูกตรวจค้นโดยเจ้าหน้าที่
ส่วนรองเท้าและอุปกรณ์ทุกชิ้นที่นำขึ้นเครื่องจะต้องผ่านการเอ็กซเรย์


-รถเข็นและเครื่องช่วยพยุงเดิน
จะต้องผ่านการเอ็กซเรย์
และมีเพียงรถเข็นสำหรับผู้ป่วยจะต้องใช้ที่ทางสนามบินจัดเตรียมไว้เท่านั้น


-ของเหลวทุกชนิดที่ตรวจพบจะต้องทิ้ง


-ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตรการการตรวจกระเป๋า


-การล่าช้าของเที่ยวบินเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ผู้โดยสารจะต้องมาถึงสนามบินเร็วกว่าปกติและให้แน่ใจว่าสัมภาระที่นำไปนั้นเป็นไปตามข้อกำหนดข้างต้น


-มาตรการความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นนี้อาจจะสร้างความลำบากให้กับผู้โดยสาร
โดยเฉพาะในช่วงเวลายุ่งเหยิงเช่นนี้
แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นและจะต้องมีต่อไปเพื่อให้การเดินทางทางอากาศเป็นไปอย่างปลอดภัย


-หวังว่ามาตรการเหล่านี้
ซึ่งได้รับการทบทวนแล้วจากรัฐบาล
จะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น


-ขอให้ผู้เดินทางได้เข้าใจและให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสนามบินและเจ้าหน้าที่ตำรวจ


-หากผู้โดยสารมีข้อสงสัยในการเดินทางหรือเรื่องความปลอดภัยในสนามบิน
ควรจะติดต่อกับทางสายการบิน





เป็นที่คาดการณ์ว่า
หากแผนดังกล่าวของผู้ก่อการร้ายประสบความสำเร็จ
จะมีผู้เสียชีวิตราว
2,700 คน
จากความสูญเสียที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนี้
น่าดีใจที่แผนการณ์นี้ถูกขัดขวางเสียก่อน
แต่อย่างไรก็ตามวัตถุระเบิดเหลวชนิดนี้ก็ยังคงท้าทายความสามารถของอังกฤษและสหรัฐอเมริกาในการป้องกันหายนะที่จะเกิดขึ้นไปอีกหลายปีข้างหน้า



วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบินพลเรือน (Aviation)


ความหมาย
Aviation (N) หมายถึง ศิลปะและศาสตร์ในการบิน (English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary )
Aviation หมายถึง (เอวิเอ' เชิน) n. วิธีการบิน,วิชาการบิน,การออกแบบ พัฒนาและ
สร้างเครื่องบิน (flying) (English-Thai: HOPE Dictionary)
Aviation หมายถึง (n) การบิน,วิชาการบิน,วิธีการบิน (English-Thai: Nontri Dictionary)
Aviation \A`vi*a"tion\, n. The art or science of flying.
[1913 Webster] From The Collaborative International Dictionary of English v.0.48 [gcide]:
Aviation
n 1: the aggregation of a country's military aircraft [syn:
{aviation}, {air power}]
2: the operation of aircraft to provide transportation
3: the art of operating aircraft [syn: {aviation}, {airmanship}]
4: travel via aircraft; "air travel involves too much waiting in airports"; "if you've time to spare go by air" [syn: {air travel}, {aviation}, {air}] From WordNet (r) 3.0 (2006) [wn]:

AVIATION หมายถึง การบิน หรือ การขนส่งทางอากาศ เป็นการลำเลียง คน สัตว์ และสิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง โดยใช้ยานพาหนะเคลื่อนที่ไปในอากาศ (การขนส่งทางอากาศเริ่มจากเครื่องร่อน บอลลูน เรือเหาะ และในปัจจุบันใช้เครื่องบิน)
การปฏิบัติในการขนส่งทางอากาศโดยทั่วไป ทำโดยผู้ส่งสินค้าทำสัญญาขนส่งกับผู้ขนส่งสินค้า และผู้ขนส่งสินค้าจะรับภาระหน้าที่ในการขนส่งให้เสร็จถึงผู้รับสินค้า ผู้ขนส่งอาจเป็นได้ทั้งบริษัทสายการบิน หรือบริษัทขนส่งระหว่างประเทศ

การบิน (Aviation) หมายถึง การใช้อากาศยานเพื่อวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
การบินในที่นี้หมายถึง การบินพลเรือน (Civil Aviation) ซึ่งองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) แบ่งประเภทของการบินพลเรือน (Civil Aviation) ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้คือ

(1) การบินพาณิชย์ (Commercial Aviation) หรือการขนส่งทางอากาศ (Air Transport)
(2) การปฏิบัติงานทางอากาศ (Aerial Work)
(3) การบินทั่วไป (General Aviation)
อย่างไรก็ตาม องค์การบริหารการบินของสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration: FAA) แบ่งการบินพลเรือนออกเป็น 2 ประเภท คือ:

(1) การบินพาณิชย์ (Commercial Aviation) ซึ่งมีรายละเอียดเช่นเดียวกับที่ ICAO กำหนด
และ
(2) การบินที่มิใช่เพื่อการพาณิชย์ (Non – Commercial Aviation) ซึ่งมีรายละเอียด
เช่นเดียวกับ การปฏิบัติงานทางอากาศ และการบินทั่วไปที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศกำหนด
งานการบินพลเรือนนั้นประกอบด้วยงานหลายประเภทที่มีความเกี่ยวโยงซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ที่ปฏิบัติงานด้านการบินพลเรือนในแต่ละประเภทนั้น ก็มี
ความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน และมีจุดประสงค์ไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติงานด้าน
การบินพลเรือนจึงจำเป็นต้องมีความรู้ขั้นพื้นฐานของงานการบินพลเรือนโดยทั่วๆไปด้วย

งานการบินพลเรือนนี้เป็นงานบริการซึ่งสามารถแยกออก ได้หลายมุมมอง ในที่นี้ จะกล่าวถึงงาน 2 ประเภท คือ งานการขนส่งทางอากาศ (Air Transport) หรือการบินพาณิชย์ (Commercial Air Transport) และการเดินอากาศ (Air Navigation) ซึ่งเป็นงานที่หลายหน่วยงานให้บริการกับผู้ทำการบิน

1.1.1 การบินพาณิชย์ หรือการบินเพื่อการค้า (Commercial Air Transport)
งานบริการขนส่งทางอากาศประเภทนี้ เป็นงานบริการที่ดำเนินการโดยมุ่งหวังเอาผลตอบแทนจากการบริการเป็นตัวเงินโดยตรง ซึ่งอาจคิดเป็น ค่าโดยสาร ค่าระวาง หรือค่าเช่า ก็ได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของงานบริการขนส่งทางอากาศประเภทนี้คือ การประกอบการหรือการให้บริการของสายการบินต่างๆ
การบินพาณิชย์ หรือการให้บริการขนส่งทางอากาศ ประเภทนี้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
ย่อย ๆ คือ
· การบริการแบบประจำ (Scheduled Services)
· การบริการแบบไม่ประจำ (Non-Scheduled Services)
เนื่องจากการบินพาณิชย์เป็นการบริการที่มีการตอบแทนในเชิงธุรกิจนี้เอง จึงมักพบเห็นคำว่า “การบริการทางอากาศ” (Air Services) ในความหมายเดียวกัน

1.1.2 การบินทั่วไป (General Aviation)
หมายถึง การบินที่มิได้มีจุดประสงค์เพื่อหวังผลตอบแทนตามที่กล่าวแล้วในข้อ 1.1.1
การบินประเภทนี้ได้แก่การบินเพื่อการกีฬา การบินเพื่อหาความเพลิดเพลินของสมาชิกสโมสรการบินต่างๆ หรือการบินของส่วนบุคคล หรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องบิน เพื่อธุรกิจของตนเอง เป็นต้น

1.1.3 การทำการบนอากาศ (Ariel Work)
ได้แก่ การถ่ายรูปทางอากาศ การทำฝนเทียม การโปรยปุ๋ย หรือยากำจัดแมลงศัตรูพืช
โดยที่การขนส่งทางอากาศนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจความมั่นคงของประเทศและ
ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ดังนั้น ทางราชการจึงได้กำหนดให้ “การขนส่งทางอากาศเป็นกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค และผู้ที่จะประกอบกิจการค้าขายดังกล่าวนี้ จะต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสียก่อน
(ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2515) สำหรับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport) นั้น ก็จะต้องได้รับการอนุญาตเช่นกัน โดยในมาตราที่ 27 ของพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ระบุไว้ว่า “ห้ามมิให้อากาศยาน นอกจากอากาศยานต่างประเทศบินออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่” (พนักงานเจ้าหน้าที่ในที่นี้คือ อธิบดีกรมการบินพาณิชย์ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมการบินพาณิชย์ ตามประกาศกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2522) ซึ่งเป็นการกำหนดสำหรับอากาศยานที่จดทะเบียนเป็นของไทย

สำหรับอากาศยานต่างประเทศนั้น ข้อกำหนดตามมาตราที่ 28 ของพระราชบัญญัติเดียวกันนี้ กำหนดไว้ว่า “ห้ามมิให้อากาศยานต่างประเทศบินผ่าน หรือขึ้นลงในราชอาณาจักร เว้นแต่จะมีสิทธิตามอนุสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศ หรือได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี”
การห้ามหรือการกำหนดให้อากาศยานประเทศอื่นบินผ่าน หรือขึ้นลงในประเทศของตนเองก่อนได้รับอนุญาตนั้น เป็นการปฏิบัติโดยทั่วไป ซึ่งทุกประเทศก็จะมีข้อห้ามหรือข้อกำหนดในลักษณะที่คล้ายคลึงกันนี้ เมื่อต่างคนต่างห้ามกันเช่นนี้ การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศก็เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้น เพื่อจะให้มีการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศเกิดขึ้น จึงต้องมีการเจรจาตกลงกัน เพื่อขอหรือแลกเปลี่ยนผลตอบแทนซึ่งกันและกัน การเจรจาหรือข้อตกลงนี้เรียกว่า “ข้อตกลงสองฝ่าย หรือทวิภาคี (Bilateral Agreement)” เป็นการตกลงเพื่อที่จะขอหรือแลกเปลี่ยนสิทธิในการบินและการขนการจราจร (การขนผู้โดยสารและสินค้า) ซึ่งกันและกัน
ในการเจรจาเพื่อทำความตกลงทวิภาคีนี้ สำหรับประเทศไทยนั้นดำเนินการโดย “คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาล เพื่อพิจารณาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ” ซึ่งปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน
ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศนั้น จะเกิดขึ้นได้ด้วยการทำข้อตกลงสองฝ่ายหรือทวิภาคี การทำข้อตกลงดังกล่าวนี้ เพื่อที่จะเป็นการขอหรือแลกเปลี่ยนสิทธิการบิน (Traffic Right) ซึ่งกันและกัน ซึ่งสิทธิการบินนี้จะระบุถึงสิทธิการรับขนการจราจร ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ว่าจะให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีสิทธิในประเภทใดบ้าง ดังนั้น ในการที่สายการบินกำหนดตารางการบินขึ้นมาในแต่ละฤดูนั้น จึงต้องส่งให้กรมการบินพาณิชย์พิจารณาตรวจสอบว่า ตามตารางการบินนั้น ถูกต้องตามสิทธิที่จะได้รับตามข้อตกลงหรือไม่ เพื่อการอนุญาตต่อไป ทั้งนี้ทั้งนั้น กรมการบินพาณิชย์มิได้มีหน้าที่หรือความรับผิดชอบของกำหนดวัน เวลา เครื่องบินเข้า-ออกแต่อย่างใด และที่กรมการบินพาณิชย์อนุญาตตารางบินนั้น ก็เป็นการอนุญาตตามสิทธิที่สายการบินนั้นได้รับ คือมีจำนวนเที่ยวบินและแบบหรือชนิดของเครื่องบินถูกต้องตามข้อตกลงที่ได้ทำร่วมกันไว้เท่านั้นเอง
หัวใจของการบริการด้านการขนส่งทางอากาศ คือ สิ่งอำนวยความสะดวกและพิธีการต่าง ๆ ที่ให้กับผู้โดยสาร สัมภาระเดินทาง สินค้าและผู้ประกอบการ คือ สายการบิน บริการเหล่านี้ได้แก่ พิธีการทางด้านศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง ตรวจสอบโรค (คน สัตว์ และพืช) ความสะดวกของผู้โดยสารหรือสินค้าที่จะได้รับ นับตั้งแต่เดินทางจากตัวเมืองมาถึงท่าอากาศยาน ในขณะที่อยู่ภายในท่าอากาศยานจนออกขึ้นเครื่องบิน ในทางกลับกันก็คือความสะดวกของผู้โดยสารหรือสินค้าที่ลงจากเครื่องยินมาสู่ภายในท่าอากาศยาน และออกเข้าสู่เมือง และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ระบุไว้ในเอกสารแถลงข่าวการบิน (Aeronautical Information Publication: AIP)

1.2 การเดินอากาศ (Air Navigation)
หมายถึง การปฏิบัติการขนส่งทางอากาศจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง การเดินอากาศนี้เป็นงานที่ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ในเรื่องของความปลอดภัย เพราะความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินอากาศนี้ หมายถึงชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการ ดังนั้น งานด้านการเดินอากาศนี้จึงเป็นงานที่เกี่ยวข้องกัน ระหว่างผู้ประกอบการ อันได้แก่ สายการบิน นักบิน ผู้ให้บริการภาคพื้น และผู้ควบคุมในการปฏิบัติการบิน การเดินอากาศ เป็นงานที่หลายหน่วยงานให้บริการกับผู้ทำการบิน
งานด้านการเดินอากาศนี้ สามารถแยกออกเป็นงานย่อย ๆ ตามลักษณะของการควบคุมและการให้บริการได้เป็น 6 ประเภท ด้วยกัน คือ
1.2.1 งานควบคุมและการให้บริการด้านสนามบิน
งานประเภทนี้ ได้แก่ การก่อสร้างและให้บริการของสนามบิน การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก และความปลอดภัย เครื่องช่วยการเดินอากาศต่าง ๆ ที่อยู่ภายในสนามบิน รวมตลอดถึงการซ่อมบำรุงด้วย เพื่อให้บริการกับผู้โดยสาร สัมภาระเดินทาง สินค้า และวัสดุไปรษณียภัณฑ์ และผู้ประกอบการ (สายการบิน) ด้วยความสะดวกและปลอดภัย
1.2.2 งานบริการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Services: ATS)
งานบริการจราจรทางอากาศนี้ จุดประสงค์เพื่อที่จะ
(1) ป้องกันอากาศยานไม้ให้ชนกันในขณะที่ทำการบิน
(2) ป้องกันอากาศยานที่กำลังขับเคลื่อนไม่ให้ชนกัน หรือชน กับสิ่งกีดขวางที่
อยู่บนภาคพื้นที่ขับเคลื่อนนั้น ๆ
(3) ช่วยให้การจราจรทางอากาศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและรวดเร็ว
(4) ให้คำแนะนำและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อความปลอดภัย และ ประสิทธิภาพ
ของการขนส่งทางอากาศ
(5) แจ้งและช่วยเหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอากาศยานที่ประสบอุบัติเหตุ และ
อากาศยานที่ต้องการการช่วยเหลือและค้นหางานบริการจราจรทางอากาศนี้ ได้แก่

1.2.2.1 การบริการควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Control Services)
การควบคุมจราจรทางอากาศ คือ การดูแลและจัดการให้การทำการบินและ
การขับเคลื่อนของอากาศยานดำเนินไปด้วยความเป็นระเบียบ ปลอดภัย และรวดเร็ว ซึ่งแบ่งออก
ได้เป็น
(1) บริการควบคุมจราจรทางอากาศในเขตแถลงข่าวการบิน
(Area Control Services) เป็นงานให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศแก่เครื่องบินที่อยู่ในเส้นทางการบิน (Airways) ภายในเขตแถลงข่าวการบิน (Flight Information Region: FIR) ยกเว้น เขตควบคุมการบินของหอบังคับ การบิน (Terminal Control Area: TMA)
(2) บริการควบคุมจราจรทางอากาศประชิดเขตสนามบิน (Approach Control
Services) เป็นการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศแก่เครื่องบินที่อยู่ภายในเขตควบคุมการบินของหอบังคับการบิน (TMA)
(3) บริการควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณสนามบิน (Aerodrome Control
Services) เป็นการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศแก่เครื่องบินในขณะที่กำลังทำการบินขึ้นหรือลง ตลอดจนขณะที่ขับเคลื่อนอยู่บนทางวิ่ง ทางขับและ ลานจอด

1.2.2.2 การบริการข่าวการบิน (Flight Information Service: FIS)
งานประเภทนี้เป็นการให้บริการข่าวสำหรับการบิน หรือคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ และเพื่อความปลอดภัยในการเดินอากาศ ซึ่งได้แก่
(1) ข้อมูลข่าวอากาศที่สำคัญ (SIGMET)
(2) ข้อมูลสภาพการให้บริการของเครื่องช่วยการเดินอากาศ
(3) ข้อมูลสภาพสนามบินและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
(4) ข่าวเกี่ยวกับการปล่อยบัลลูนที่ไม่มีคนบังคับ

1.2.2.3 การบริการระวังภัย (Alerting Service)
เป็นการบริการแจ้งข่าวฉุกเฉินแก่เครื่องบินที่อยู่ในเขตควบคุมการบินที่รับผิดชอบได้รับทราบ หรือแจ้งให้หน่วยที่เกี่ยวข้องได้รับทราบเพื่อเตรียมการช่วยเหลือ เช่น ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นกับเครื่องบิน หรือการติดต่อขาดหายไปนาน เป็นที่ผิดสังเกต

1.2.3 งานบริการโทรคมนาคม (Aeronautical Telecommunication)
งานบริการโทรคมนาคมการบินแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1.2.3.1 การบริการการบินประจำที่ (Aeronautical Fixed Service) คือ การบริการ
โทรคมนาคมการบินระหว่างสถานีที่อยู่บนภาคพื้น ด้วยกัน
1.2.3.2 การบริการการบินเคลื่อนที่ (Aeronautical Mobile Service) คือ การบริการ
โทรคมนาคมระหว่างอากาศยานกับสถานีการบิน ภาคพื้นดิน

1.2.3.2.1 การบริการวิทยุช่วยการเดินอากาศ (Aeronautical Radio Navigation
Service) คือการบริการให้ความปลอดภัยในการเดินอากาศด้วยวิทยุช่วยกาเดินอากาศเพื่อให้อากาศยานสามารถหาตำแหน่งหรือทิศทางของตัวเองได้ หรือบอกให้ทราบถึงสิ่งกีดขวาง
การเดินอากาศ
1.2.3.2.2 การบริการกระจายเสียงการบิน (Aeronautical Broadcasting Service)
ส่วนใหญ่ของบริการด้านนี้เป็นการส่งข่าวอากาหรือแจ้งชื่อสถานี เครื่องช่วยการเดินอากาศ

1.2.4 งานบริการอุตุนิยมวิทยา (Meteorological Service)
บริการอุตุนิยมวิทยาเป็นการให้ ข้อมูลข่าวอากาศ
(1) ที่ท่าอากาศยานที่เครื่องบินจะบินขึ้นในเวลานั้น
(2) ที่ท่าอากาศยานที่เครื่องบินจะไปลง ในเวลาที่ประมาณไว้ว่าจะถึง
(3) ตามเส้นทางบิน และที่ท่าอากาศยานที่อยู่ในเส้นทางบิน
(4) ที่สนามบินสำรอง ตามที่กำหนดในแผนการบิน หรือที่ระบุไว้ใน
แผนการ เดินอากาศของภูมิภาค (Regional Air Navigation Plan) นั้นๆ

1.2.5 งานบริการค้าหาและช่วยเหลือ (Search and Rescue Service)
เป็นบริการที่ให้ข่าว เกี่ยวกับการทำการบิน เช่น
(1) ข่าวประกาศนักบิน (Notice to Air Men: NOTAM)
(2) ข้อมูลในเอกสารข่าวเพื่อทำการบิน (Aeronautical Information Publication: AIP)
(3) ข้อมูลก่อนทำการบิน (Pre-flight Information)

จะเห็นได้ว่า งานและบริการต่างๆ ในงานการบินพลเรือนนั้นมีหลายอย่าง และมี
หลายหน่วยงานที่ปฏิบัติและเกี่ยวข้องกันอยู่ดังได้กล่าวมาแล้ว สำหรับประเทศไทยนั้น
มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ
- กระทรวงคมนาคม
- กรมขนส่งทางอากาศ
- กรมอุตุนิยมวิทยา
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
- บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
- สายการบินต่างๆ
- คณะกรรมการต่างๆด้านการบินพลเรือน